ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism)


ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง

(Constructivism)
ณัชชากัญญ์ วิรัตนชัยวรรณ (http://www.learners.in.th/blogs/posts/386486) เป็นทฤษฏีที่ให้ความสำคัญกับกระบวนการและวิธีการของบุคคลในการสร้างความรู้ความเข้าใจจากประสบการณ์ รวมทั้งโครงสร้างทางปัญญาและความเชื่อที่ใช้ในการแปลความหมายเหตุการณ์และสิ่งต่างๆ เป็นกระบวนการที่ผู้เรียนจะต้องจัดกระทำกับข้อมูล นอกจากกระบวนการเรียนรู้จะเป็นกระบวนการปฏิสัมพันธ์ภายในสมองแล้ว ยังเป็นกระบวนการทางสังคมด้วย การสร้างความรู้จึงเป็นกระบวนการทั้งด้านสติปัญญาและสังคมควบคู่กันไป
 
ทิศนา แขมมณี. (2554) กล่าวว่าทฤษฎีพัฒนาการทางเชาวน์ปัญญาของเพียเจต์และของวีก็อทกี้เป็นรากฐานสำคัญของทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง เพียเจต์อธิบายว่า พัฒนาการทางเชาวน์ปัญญาของบุคคลมีการปรับตัวผ่านทางกระบวนการซึมซับหรอดูดซึมและกระบวนการปรับโครงสร้างทางปัญญา ส่วนวีก็อทกี้ ให้ความสำคัญกับวัฒนธรรมและสังคมมาก นักทฤษฎีกลุ่มการสร้างความรู้ มีความเห็นว่า โลกนี้จะมีอยู่จริง และสิ่งต่างๆมีอยู่ในโลกจริง แต่ความหมายของสิ่งเหล่านั้น มิได้มีอยู่ในตัวของมัน สิ่งต่างๆมีความหมายขึ้นมาจากการคิดของคนที่รับรู้สิ่วนั้น และแต่ละคนจะให้ความหมายของสิ่งเดียวกัน แตกต่างกันไปอย่างหลากหลาย
 
จันทร์ศิริ ศรีสมพงษ์ (http://naza25335.blogspot.com/p/5.html) ได้รวบรวมไว้ว่า แนวคิด Constructivism เกี่ยวข้องกับธรรมชาติของความรู้ของมนุษย์ มีความหมายทั้งในเชิงจิตวิทยาและเชิงสังคมวิทยา ทฤษฎีด้านจิตวิทยา เริ่มต้นจาก Jean Piaget ซึ่งเสนอว่า การเรียนรู้ของเด็กเป็นกระบวนการส่วนบุคคลมีความเป็นอัตนัย Vygotsky ได้ขยายขอบเขตการเรียนรู้ของแต่ละบุคคลว่า เกิดจากการสื่อสารทางภาษากับบุคคลอื่น สำหรับด้านสังคมวิทยา Emile Durkheim และคณะ เชื่อว่าสภาพแวดล้อมทางสังคมมีผลต่อการเสริมสร้างความรู้ใหม่
     สรุป ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองเป็นทฤษฏีที่ให้ความสำคัญกับกระบวนการและวิธีการของบุคคลในการสร้างความรู้ความเข้าใจจากประสบการณ์ ทฤษฎีพัฒนาการทางเชาวน์ปัญญาของเพียเจต์และของวีก็อทกี้เป็นรากฐานสำคัญของทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง เพียเจต์อธิบายว่า พัฒนาการทางเชาวน์ปัญญาของบุคคลมีการปรับตัวผ่านทางกระบวนการซึมซับหรอดูดซึมและกระบวนการปรับโครงสร้างทางปัญญา

 
อ้างอิง
ทิศนา แขมมณี. (2553). การสอนจิตวิทยาการเรียนรู้ เรื่องศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 13). สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย : กรุงเทพฯ.
ณัชชากัญญ์ วิรัตนชัยวรรณ. http://www.learners.in.th/blog/natchakan/386486. [ออนไลน์]. เข้าถึงเมื่อ 19 กรกฎาคม 2561.
จันทร์ศิริ ศรีสมพงษ์. http://naza25335.blogspot.com/p/5.html. [ออนไลน์]. เข้าถึงเมื่อ 19 กรกฎาคม 2561.

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

วิธีสอนแบบศึกษาด้วยตนเอง (Self Study Method)

นวัตกรรมและสื่อการเรียนการสอนคณิตศาสตร์

ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มมนุษยนิยม (Humanism)