บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กรกฎาคม, 2018

ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Theory of Cooperative or Collaborative Leaning)

ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ ( Theory of Cooperative or Collaborative Leaning) ณัชชากัญญ์ วิรัตนชัยวรรณ ( http://www.learners.in.th/blogs/posts/386486 ) แนวคิดของทฤษฏีนี้ คือ การเรียนรู้เป็นกลุ่มย่อยโดยมีสมาชิกกลุ่มที่มีความสามารถแตกต่างกันประมาณ 3 – 6 คน ช่วยกันเรียนรู้เพื่อไปสู่เป้าหมายของกลุ่ม โดยผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันในลักษณะ zz แข่งขันกัน ต่างคนต่างเรียนและร่วมมือกันหรือช่วยกันในการเรียนรู้   ทิศนา แขมมณี  (2553)  ได้รวบรวมทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือไว้ดังนีh Johnson and Johnson (1994) กล่าวไว้ว่า ปฎิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนมี 3 ลักษณะคือ         1. ลักษณะแข่งขันกัน ในการศึกษาเรียนรู้ ผู้เรียนแต่ละคนจะพยายามเรียนให้ได้ดีกว่าคนอื่น zz เพื่อให้ได้คะแนนดี ได้รับการยกย่องหรือได้รับการตอบแทนในลักษณะต่าง         2. ลักษณะต่างคนต่างเรียน คือ แต่ละคนต่างก็รับผิดชอบดูแลตนเองให้เกิดการเรียนรู้ ไม่ยุ่งเกี่ยวกับผู้อื่น         3. ลักษณะร่วมมือกันหรือช่วยกันในการเรียนรู้ คือ แต่ละคนต่างก็รับผิดชอบในการเรียนรู้ของตน และในขณะเดียวกันก็ต้องช่วยให้สมาชิกคนอื่นเรียนรู้ด้วย      

ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน (Constructionism)

ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน ( Constructionism) ทิศนา แขมมณี ( 2554) กล่าวว่าทฤษฎีนี้มีพื้นฐานมาจากทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจท์ ผู้พัฒนาทฤษฎีนี้คือ ศาสตราจารย์ ซีมัวร์ เพ เพอร์ท แนวความคิดของทฤษฎีนี้คือ การเรียนรู้ที่ดีเกิดจากการสร้างพลังความรู้ในตนเองและด้วยตนเองของผู้เรียน หากผู้เรียนได้มีโอกาสได้สร้างความคิดและนำความคิดของตนเองไปสร้างชิ้นงาน โดยอาศัยสื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสม จะทำให้เห็นความคิดนั้นเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน   ณัชชากัญญ์ วิรัตนชัยวรรณ ( http://www.learners.in.th/blogs/posts/386486 ) แนวคิดของทฤษฏีนี้ คือ การเรียนรู้ที่ดีเกิดจากการสร้างพลังความรู้ในตนเอง หากผู้เรียนมีโอกาสได้สร้างความคิดและนำความคิดของตนเองไปสร้างสรรค์ชิ้นงานโดยอาศัยสื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสม จะทำให้ความคิดเห็นนั้นเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น   จันทร์ศิริ ศรีสมพงษ์ ( http://naza25335.blogspot.com/p/5.html ) ได้รวบรวมและกล่าวไว้ว่า การเรียนรู้ที่ดีเกิดจากการสร้างพลังความรู้ในตนเองด้วยตนเองของผู้เรียน ผู้เรียนที่มีโอกาสได้สร้างความคิดและนำความคิดของตนเองไปสร้างชิ

ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism)

ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง ( Constructivism) ณัชชากัญญ์ วิรัตนชัยวรรณ ( h ttp://www.learners.in.th/blogs/posts/386486 ) เป็นทฤษฏีที่ให้ความสำคัญกับกระบวนการและวิธีการของบุคคลในการสร้างความรู้ความเข้าใจจากประสบการณ์ รวมทั้งโครงสร้างทางปัญญาและความเชื่อที่ใช้ในการแปลความหมายเหตุการณ์และสิ่งต่างๆ เป็นกระบวนการที่ผู้เรียนจะต้องจัดกระทำกับข้อมูล นอกจากกระบวนการเรียนรู้จะเป็นกระบวนการปฏิสัมพันธ์ภายในสมองแล้ว ยังเป็นกระบวนการทางสังคมด้วย การสร้างความรู้จึงเป็นกระบวนการทั้งด้านสติปัญญาและสังคมควบคู่กันไป   ทิศนา แขมมณี. ( 2554) กล่าวว่าทฤษฎีพัฒนาการทางเชาวน์ปัญญาของเพียเจต์และของวีก็อทกี้เป็นรากฐานสำคัญของทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง เพียเจต์อธิบายว่า พัฒนาการทางเชาวน์ปัญญาของบุคคลมีการปรับตัวผ่านทางกระบวนการซึมซับหรอดูดซึมและกระบวนการปรับโครงสร้างทางปัญญา ส่วนวีก็อทกี้ ให้ความสำคัญกับวัฒนธรรมและสังคมมาก นักทฤษฎีกลุ่มการสร้างความรู้ มีความเห็นว่า โลกนี้จะมีอยู่จริง และสิ่งต่างๆมีอยู่ในโลกจริง แต่ความหมายของสิ่งเหล่านั้น มิได้มีอยู่ในตัวของมัน สิ่งต่างๆมีความหมายขึ้นมาจากการคิ

ทฤษฎีพหุปัญญา (Theory of Multiple Intelligences)

ทฤษฎีพหุปัญญา ( Theory of Multiple Intelligences) ณัชชากัญญ์ วิรัตนชัยวรรณ ( http://www.learners.in.th/blogs/posts/386486 ) ทฤษฏีนี้มีความเชื่อพื้นฐานที่สำคัญ 2 ประการ คือ 1. เชาวน์ปัญญาของบุคคลมิได้มีเพียงความสามารถทางภาษาและทางคณิตศาสตร์เท่านั้น แต่มีอยู่อย่างหลากหลายถึง 8 ประเภทด้วยกัน ประกอบด้วย             - เชาวน์ปัญญาด้านภาษา ( Linguistic intelligence)             - เชาวน์ปัญญาด้านคณิตศาสตร์หรือการใช้เหตุผลเชิงตรรกะ ( Logical mathematical intelligence)             - สติปัญญาด้านมิติสัมพันธ์ ( Spatial intelligence)             - เชาวน์ปัญญาด้านดนตรี ( Musical intelligence)             - เชาวน์ปัญญาด้านการเคลื่อนไหวร่างกายและกล้ามเนื้อ ( Bodily kinesthetic intelligence)             - เชาวน์ปัญญาด้านความสัมพันธ์กับผู้อื่น ( Interpersonal intelligence)             - เชาวน์ปัญญาด้านความเข้าใจตนเอง ( Intrapersonal intelligence)             - เชาวน์ปัญญาด้านความเข้าใจธรรมชาติ ( Naturalist intelligence)               เชาวน์ปัญญาของแต่ละคนอาจจะมีมากกว่านี้ คนแต่ละคนจ