ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการรับรู้และการเชื่อมโยงความคิด (Apperception)


ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการรับรู้และการเชื่อมโยงความคิด
(Apperception)
ทิศนา แขมมณี (2553) กล่าวไว้ว่า การรับรู้และการเชื่อมโยงความคิดเป็น ความเชื่อเกี่ยวกับการเรียนรู้ การเรียนรู้เกิดได้จากแรงกระตุ้นภายนอกหรือสิ่งแวดล้อมและหลักการ จัดการศึกษา/การสอนช่วยให้ผู้เรียนสร้างความสัมพันธ์ระหว่างความรู้เดิมกับความรู้ใหม่

สุริน ชุมสาย ณ อยุธยา (http://surinx.blogspot.com/) กล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า มนุษย์เกิดมาไม่มีทั้งความดีและความเลวในตัวเอง การเรียนรู้เกิดขึ้นได้จากแรงกระตุ้นภายนอกหรือสิ่งแวดล้อม (neutral - passive) จอห์น ล็อค เชื่อว่าคนเราเกิดมาพร้อมกับจิตหรือสมองที่ว่างเปล่า (tabula rasa) การเรียนรู้เกิดจากการที่บุคคลได้รับประสบการณ์ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 การส่งเสริมให้บุคคล มีประสบการณ์มาก ๆ ในหลาย ๆ ทางจึงเป็นการช่วยให้บุคคลเกิดการเรียนรู้

(http://dontong52.blogspot.com/ได้รวบรวมและกล่าวถึงทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการรับรู้และการเชื่อมโยงความคิดว่า นักคิดคนสำคัญของกลุ่มนี้ คือ จอห์น ล็อค , วิลเฮล์ม วุนด์ , ทิชเชเนอร์ และแฮร์บาร์ด ซึ่งมีความเชื่อ ดังนี้ 
   1.มนุษย์เกิดมาไม่มีทั้งความดี ความเลวในตัวเอง การเรียนรู้เกิดจากสิ่งแวดล้อม 
   2. จอห์น ล็อค เชื่อว่า การเรียนรู้เกิดจากบุคคลได้รับประสบการณ์ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง 5
   3. วุนด์ เชื่อว่า จิตมีองค์ประกอบ 2 ส่วน คือ การสัมผัสทั้ง 5 การรู้สึกและจินตนาการ 
   4. ทิชเชเนอร์เชื่อว่าจิตมีองค์ประกอบ 3 ส่วน คือ การสัมผัสทั้ง 5 การรู้สึก และจินตนาการ 
   5. แฮร์บาร์ต เชื่อว่า การเรียนรู้มี 3 ระดับ คือ ขั้นการเรียนรู้โดยประสาทสัมผัส ขั้นจำ ความคิดเดิม และขั้นการเกิดความคิดรวบยอดและความเข้าใจ 
   6. แฮร์บาร์ต เชื่อว่า การสอนควรเริ่มจากการทบทวนความรู้เดิมของผู้เรียนเสียก่อนแล้วจึงเสนอ ความรู้ใหม่

สรุป การรับรู้และการเชื่อมโยงความคิดเป็น ความเชื่อเกี่ยวกับการเรียนรู้ การเรียนรู้เกิดได้จากแรงกระตุ้นภายนอกหรือสิ่งแวดล้อม การเรียนรู้เกิดจากการที่บุคคลได้รับประสบการณ์ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 การส่งเสริมให้บุคคล มีประสบการณ์มาก ๆ ในหลาย ๆ ทางจึงเป็นการช่วยให้บุคคลเกิดการเรียนรู้ ทฤษฎีของกลุ่มที่เน้นการรับรู้และการเชื่อมโยงความคิดว่า นักคิดคนสำคัญของกลุ่มนี้ คือ จอห์น ล็อค , วิลเฮล์ม วุนด์ , ทิชเชเนอร์ และแฮร์บาร์ด ซึ่งมีความเชื่อ ดังนี้  
   1. มนุษย์เกิดมาไม่มีทั้งความดี ความเลวในตัวเอง การเรียนรู้เกิดจากสิ่งแวดล้อม  
   2. จอห์น ล็อค เชื่อว่า การเรียนรู้เกิดจากบุคคลได้รับประสบการณ์ผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 
   3. วุนด์ เชื่อว่า จิตมีองค์ประกอบ 2 ส่วน คือ การสัมผัสทั้ง 5 การรู้สึกและจินตนาการ  
   4. ทิชเชเนอร์เชื่อว่าจิตมีองค์ประกอบ 3 ส่วน คือ การสัมผัสทั้ง 5 การรู้สึก และจินตนาการ  
   5. แฮร์บาร์ต เชื่อว่า การเรียนรู้มี 3 ระดับ คือ ขั้นการเรียนรู้โดยประสาทสัมผัส ขั้นจำ ความคิดเดิม และขั้นการเกิดความคิดรวบยอดและความเข้าใจ  
   6. แฮร์บาร์ต เชื่อว่า การสอนควรเริ่มจากการทบทวนความรู้เดิมของผู้เรียนเสียก่อนแล้วจึงเสนอ ความรู้ใหม่

อ้างอิง 
ทิศนา แขมมณี. (2553). ศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่13. ด่านสุทธาการพิมพ์ : กรุงเทพมหานคร. 
สุริน ชุมสาย ณ อยุธยา. http://surinx.blogspot.com/. [ออนไลน์]. เข้าถึงเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2561. 
http://dontong52.blogspot.com/. [ออนไลน์]. เข้าถึงเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2561.

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

วิธีสอนแบบศึกษาด้วยตนเอง (Self Study Method)

นวัตกรรมและสื่อการเรียนการสอนคณิตศาสตร์

ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มมนุษยนิยม (Humanism)